วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ภาคอีสาน (ประเทศไทย)

ภาคอีสาน เป็นเขตหรือภาคหนึ่ง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไทย อยู่บนที่ราบสูงโคราช มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือและตะวันออกของภาค ทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นแยกจากภาคเหนือและภาคกลาง
การเกษตรนับเป็นอาชีพหลักของภาค แต่ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ทางด้านสังคมเศรษฐกิจ ทำให้มีผลผลิตที่น้อยกว่าภาคอื่นๆ
ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน แต่ภาษาไทยกลางก็นิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมร ที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นอื่นๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทยโคราช เป็นต้น
ภาคอีสานมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหาร ภาษา ดนตรีหมอลำ และศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น
ภาคอีสาน มีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง และภูกระดึงซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น ลำตะคอง แม่น้ำชี แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล
จังหวัดในภาคอีสาน
ดูเพิ่มที่ จังหวัดในประเทศไทย
ภาคอีสานมีจังหวัด ในความปกครองทั้งหมด 19 จังหวัด ดังนี้

จังหวัดกาฬสินธุ์

จังหวัดขอนแก่น

จังหวัดชัยภูมิ

จังหวัดนครพนม

จังหวัดนครราชสีมา

จังหวัดบุรีรัมย์

จังหวัดมหาสารคาม

จังหวัดมุกดาหาร

จังหวัดยโสธร

จังหวัดร้อยเอ็ด

จังหวัดเลย

จังหวัดสกลนคร

จังหวัดสุรินทร์

จังหวัดศรีสะเกษ

จังหวัดหนองคาย

จังหวัดหนองบัวลำภู

จังหวัดอุดรธานี

จังหวัดอุบลราชธานี

อาหารหลักของชาวอีสาน
ปลาร้าหลน นำปลาร้าที่เป็นตัวใหญ่พอประมาณนำไปทอดในกระทะให้สุก นิยมกินกับข้าวเหนียว เครื่องเคียงมี พริกสด โหรพา กระเทียม
ข้าวจี่ จะนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว ปั้นเป็นก้อนโรยเกลือเสียบไม้ นำไปย่างไฟ แล้วทาทับด้วยไข่
ปลาร้าบอง นำปลาร้าเป็นตัวมาสับให้ละเอียดพร้อมกับใส่เครื่องปรุง เช่น ตะไคร้ พริก หอม กระเทียม ใบมะกรูด
ลาบ
หม่ำเนื้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น